เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
สันตติรูป
[642] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป
ชรตารูป
[643] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
อนิจจตารูป
[644] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง
ความอันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
กวฬิงการาหารรูป
[645] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง
ซึ่งมีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิง-
การาหาร
รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
อุปาทาภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวารในรูปกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :205 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [2. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
อนุปาทารูป
[646] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ
โผฏฐัพพายตนะ
[647] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึง
ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ1
[648] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา กายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ
จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะ
บ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
[649] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ
กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้
ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ
[650] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกายปสาทรูป

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/166/84

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :206 }